tDsigns
ยินดีต้อนรับท่านเข้าสู่ tDsigns.com

ท่านกำลังเข้าใช้งานเว็บบอร์ดในสถานะ "ผู้มาเยือน" ซึ่งไม่สามารถที่จะตั้งคำถามหรือแสดงความคิดเห็นใดๆได้

ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยสำหรับการสมัครสมาชิกเพื่อเข้าใช้งานที่ tDsigns แล้วท่านจะได้รับสิ่งดีดีกลับไป

tDsigns - Design by T ที่นี่เรามอบสิ่งดีดีให้คุณ..ด้วยใจ
tDsigns
ยินดีต้อนรับท่านเข้าสู่ tDsigns.com

ท่านกำลังเข้าใช้งานเว็บบอร์ดในสถานะ "ผู้มาเยือน" ซึ่งไม่สามารถที่จะตั้งคำถามหรือแสดงความคิดเห็นใดๆได้

ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยสำหรับการสมัครสมาชิกเพื่อเข้าใช้งานที่ tDsigns แล้วท่านจะได้รับสิ่งดีดีกลับไป

tDsigns - Design by T ที่นี่เรามอบสิ่งดีดีให้คุณ..ด้วยใจ

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler

Go down

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Empty ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler

ตั้งหัวข้อ by TonyWins Mon 03 Jun 2013, 23:18

ไฟล์ประกอบตัวอย่าง:

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler One2up

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Mfdown

สำหรับตัวอย่างในตอนนี้จะว่าด้วยเรื่องของการกำหนดค่า Image Sampler ของ V-Ray Options ซึ่งเป็นส่วนสำหรับกำหนดค่าการสุ่มตัวอย่างค่าสีแต่ละพิกเซลออกมา แล้วนำไปประมวลผลกับการกำหนดค่าอื่นๆ เพื่อสร้างภาพออกมาตามค่าที่กำหนด ซึ่งงานที่เราเรนเดอร์ออกมานั้นจะมีความคมชัด มีความเรียบเนียนหรือไม่นั้น การกำหนดค่าตรงนี้จะเป็นหัวใจส่วนหนึ่งเลยทีเดียว เหมาะกับการกำหนดค่าร่วมกับวัสดุที่มีพื้นผิวหยาบ หรือกำหนดค่าร่วมกับ DOF ซึ่งจะช่วยให้ความหยาบของพื้นผิว เฉดของเงา หรือความเบลอ มีความเรียบเนียนขึ้น

ในตัวอย่างนี้ผมคงไม่อธิบายหลักการทำงานของมันมาก (เพราะมันเยอะ) แต่จะแสดงด้วยภาพให้ดูความแตกต่างในการกำหนดค่าแต่ละรูปแบบเพื่อให้ท่านใช้เป็นแนวทางในการกำหนดค่าให้กับงานของท่าน ซึ่งถ้าใครต้องการศึกษาเกี่ยวกับระบบการทำงานของมันก็ลองเข้าไปศึกษาได้จากลิงก์ด้านล่างครับ

http://interstation3d.com/tutorials/vray_dmc_sampler/demistyfing_dmc.html

จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ Image Sampler และ DMC Sampler

ในงานตัวอย่างนี้ผมจะจำลองห้องขึ้นมาโดยเจาะช่องเพื่อให้แสงสว่างส่องเข้ามาได้ (ถอดแบบมาจากเว็บลิงก์ที่ให้ไปด้านบนนี่แหละครับ) และด้านนอกจะสร้าง Rectangle Light เอาไว้ เพื่อจำลองแสงสว่างแบบขาวโพลนจากภายนอก ส่วนภายในห้องจะสร้างกาน้ำไว้ 1 ใบ พร้อมกับจำลองแสงส่วางภายในด้วย Retangle Light ด้วยเช่นกัน และที่ด้านหลังของห้องจะเปิดโล่ง และจำลองแสงสว่างด้วย Rectangle Light เอาไว้เพื่อให้เป็นแสงตกกระทบลงที่กาน้ำจากมุมด้านหลังกล้อง (Reflection) การกำหนดความสว่างของแสงผมจะกำหนดเอาไว้ที่ 50, 30 และ 10 ตามลำดับ

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Vrayimagesam01

ถัดไปในส่วนของ V-Ray Options เบื้องต้นผมจะปิดการทำงานของ Environment เอาไว้ทั้ง GI และ BG และใช้ V-Ray Toys ช่วยในการกำหนดขอบเขตของการเรนเดอร์ โดยภาพตัวอย่างที่เรนเดอร์ออกมาให้ดูนั้นจะมีขนาดอยู่ที่ 640 x 640 pixels ส่วนตัวกาน้ำผมกำหนดให้มันมี Subdivision เยอะๆ เพื่อให้งานที่เรนเดอร์ออกมามีความโค้งมนไม่เป็นเหลี่ยม และ Material ทั้ง 2 ตัว ผมกำหนดให้มีค่า Subdivision มีค่าเท่ากับ 22 (ค่าเริ่มต้นจะอยู่ที่ 8) ลักษณะของพื้นผิวของวัสดุจะมีความหยาบ ซึ่งจะทำให้สามารถเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนกว่าวัสดุที่ไม่มีความหยาบ

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Vrayimagesam02

การกำหนดค่าหลักๆในตัวอย่างนี้จะกำหนดค่าในส่วนของ Image Sampler ของ V-Ray Options เป็นหลัก โดยจะมีค่ากำกับเอาไว้ให้เห็นในภาพตัวอย่าง และด้านล่างของภาพ

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Vrayimagesam03

ภาพแรกจะให้ดูภาพตัวอย่างที่เรนเดอร์ด้วยค่าพื้นฐานของ Image Sampler ก่อน ซึ่งรูปแบบการสุ่มค่าสีจะเป็นแบบ Adaptive DMC

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Vrayimagesam04
ตัวอย่างการเรนเดอร์ด้วยค่าพื้นฐานของ Image Sampler | Type: Adaptive DMC | Min Sub: 1 | Max Sub: 8 | Color Thres: 0.01

การกำหนดรูปแบบการสุ่มตัวอย่างสีเป็นแบบ Fixed Rate การกำหนดค่าตรงนี้จะสุ่มค่าสีใน 1 พิกเซล ตามค่าที่กำหนดใน Subdivs เช่น ถ้ากำหนดค่าเป็น 1 จะสุ่มค่า 1 จุดต่อ 1 พิกเซล หรือถ้ากำหนดค่าเป็น 8 จะมีการสุ่มค่าสี 8 จุดใน 1 พิกเซล เป็นต้น ยิ่งกำหนดค่าเยอะ งานที่ได้จะเรียบเนียนขึ้น และจะทำให้การเรนเดอร์มีระยะเวลานานขึ้นตามไปด้วย

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Vrayimagesam05
Type: Fixed Rate | Subdivis: 1 (ค่าพื้นฐาน) สังเกตที่ขอบของวัตถุจะมีรอยหยักของพิกเซลที่ไม่สวยงาม

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Vrayimagesam06
Type: Fixed Rate | Subdivis: 8 งานมีความเรียบเนียนขึ้น

Adaptive DMC จะเป็นลักษณะการสุ่มตัวอย่างสีใน 1 พิกเซล คล้ายๆกับ Fixed Rate แต่จะมีการกำหนดค่าต่ำสุด (Min Subdivs) และสูงสุด (Max Subdivs) ของการสุ่มสีเอาไว้ ส่งผลให้การสุ่มค่าสีแต่ละพิกเซลจะไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้ากำหนดค่าเอาไว้ที่ Min = 1 และ Max = 8 เท่ากับว่า ใน 1 พิกเซล อาจจะมีการสุ่มสีตั้งแต่ 1 จุด ไปจนถึง 8 จุด ทำให้การเรนเดอร์งานด้วยการกำหนดค่าแบบ Adaptive DMC จะมีความเร็วในการเรนเดอร์มากกว่าแบบ Fixed Rate (เทียบค่า Fixed Rate: Sub = 8 และ Adaptive MC: Max Sub = 8) โดยได้คุณภาพของงานที่ออกมาใกล้เคียงกัน

[code]DMC ย่อมาจากคำว่า Deterministic Monte Carlo แปลคร่าวๆ (ตามความเข้าใจของผม) ได้ว่า กฏ หรือ ทฤษฎีของมอนติ คาร์โล (ไม่รู้ว่าเค้าแปลกันอย่างนี้หรือเปล่า แบบว่าคน้ง คณิตเนี่ยะ ผมลืมไปหมดละ ๕๕๕) ความหมายของมันแบบที่ผมเข้าใจก็คือการสุ่มค่าตัวอย่างโดยใช้หลักของความน่าจะเป็น น่าจะประมาณนี้มั๊งครับ ๕๕๕

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Vrayimagesam07
Type: Adaptive DMC | Min Subdivs: 1 | Max Subdivs: 8

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Vrayimagesam08
Type: Adaptive DMC | Min Subdivs: 1 | Max Subdivs: 16

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Vrayimagesam09
Type: Adaptive DMC | Min Subdivs: 4 | Max Subdivs: 16

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Vrayimagesam10
Type: Adaptive DMC | Min Subdivs: 8 | Max Subdivs: 64

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Vrayimagesam11
Type: Adaptive DMC | Min Subdivs: 8 | Max Subdivs: 64 | Color Threshold: 0.1

จะเห็นว่าในภาพแรกของการกำหนดรูปแบบเป็น Adaptive DMC งานที่ได้จะมีความใกล้เคียงกับการกำหนดค่าแบบ Fixed Rate: Sub = 8 แต่ความเร็วในการเรนเดอร์จะลดลงไปประมาณ 40% และในส่วนภาพที่ 2 - 4 งานที่ได้จะมีความใกล้เคียงกันมาก ส่วนภาพที่ 5 มีการกำหนดค่าของ Color Threshold เพิ่มขึ้นเป็น 0.1 ซึ่งค่าตรงนี้ยิ่งกำหนดค่ามากขึ้น (ค่าสูงสุด = 1 และค่าต่ำสุดเท่ากับ 0.01) งานก็จะยิ่งมีความละเอียดของสีน้อยลง เพราะฉะนั้นถ้ากำหนดค่าควบคู่ไปกับการกำหนดค่าของ Subdivis ด้วยก็จะช่วยลดเวลาในการเรนเดอร์ลงได้ โดยที่คุณภาพของงานที่ได้ใกล้เคียงกัน (เทียบรูปที่ 4 กับ 5)

Adaptive Subdivision จะเป้นลักษณะการสุ่มตัวอย่างสีแบบ (อธิบายยากวุ้ย -*-) แบบยังไงดีละ คือมันจะมีการสุ่มค่าสีโดยเทียบความเข้มของสีระหว่างพิกเซล (สั้นๆอย่างงี้ละกัน) ค่า Min Rate และ Max Rate ถ้ากำหนดเป็นลบ เช่น -1 จะเป็นการสุ่ม ตัวอย่าง 1 จุดต่อ 2 พิกเซล หรือ -2 จะสุ่มตัวอย่าง 1 จุดต่อ 4 พิกเซล เป็นต้น และถ้ากำหนดค่าเป็นบวก เช่น 2 จะสุ่มตัวอย่าง 8 จุดต่อ 1 พิกเซล เป็นต้น (ค่า 0 เท่ากับสุ่มตัวอย่าง 1 ต่อ 1)

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Vrayimagesam12
Type: Adaptive Subdivision | Min Rate: -1 | Max Rate: 2 (ค่าพื้นฐาน)

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Vrayimagesam13
Type: Adaptive Subdivision | Min Rate: 1 | Max Rate: 4

ค่า Threshold ของ Adaptive Subdivsion น่าจะเป็นค่าเดียวกันกับ Color Threshold ของ Adaptive DMC ยิ่งกำหนดน้อย งานก็จะยิ่งละเอียดและเรียบเนียนขึ้น (ค่าเริ่มต้นอยู่ที่ 0.15)

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Vrayimagesam14
Type: Adaptive Subdivision | Min Rate: -1 | Max Rate: 2 | Threshold: 1.0

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Vrayimagesam15
Type: Adaptive Subdivision | Min Rate: -1 | Max Rate: 2 | Threshold: 0.05

ก็เอาไปดูกันเป็นไกด์คร่าวๆ นะครับ ลองปรับค่าต่างๆ ดู แล้วดูผลงานที่ได้ครับว่าแบบไหนตรงใจกับรูปแบบของงานที่ตัวเองต้องการมากที่สุด ในส่วนค่าอื่นๆของ Image Sampler ที่ผมไม่ได้กล่าวถึง ไม่ค่อยมีผลอะไรกับการทำงานจริงสักเท่าไหร่ครับ อย่างเช่นคำสั่ง Show Sampler เมื่อเรนเดอร์ออกมาก็จะได้งานออกมาดังภาพตัวอย่างด้านล่างครับ

ตัวอย่างการกำหนดค่า V-Ray Options ในส่วนของ Image Sampler Vrayimagesam16
TonyWins
TonyWins
User
User

Male กุมภ์ ชวด
จำนวนข้อความ : 2832
คะแนนความดี : 12840
ชื่อเสียง : 97
วันที่เข้าร่วม : 18/07/2009
อายุ : 51
ที่อยู่ : กรุงเทพฯ

https://www.tdsigns.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ